ผมมักจะเขียนโค้ดทำให้มันดูง่าย ผมไม่ได้หมายความว่าเขียนโค้ดให้น้อย เพราะการเขียนโค้ดให้น้อยมันก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะทำงานง่าย ผมเชื่อว่าปัญหาที่ใหญ่ในวงการของการพัฒนาซอฟต์แวร์นั้นมาจากความซับซ้อนที่ไม่จำเป็น ความซับซ้อนนี้เป็นผลมาจากงานของของเราเองซึ่งมันเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม เหมือนกับการที่เราอะไรใส่อะไรบางอย่างในกล่องดำ (black box) และเราก็คาดหวังว่ามันจะทำงานร่วมกัน
Flux เป็นรูปแบบหนึ่งของการออกแบบสถาปัตยกรรมสำหรับการสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ ถูกเผยแพร่โดย Facebook ในงานสัมนา F8 หลังจากนั้นหลายบริษัทได้นำไปใช้และดูเหมือนว่ามันวิธีการที่ดีในการพัฒนา Front-end apps รูปแบบ Flux ถูกนำมาใช้ควบคู่กับ React บ่อยมาก ตัวผมเองได้ใช้ React+Flux/Redux ในงานประจำของผม และผมบอกได้เลยว่ามันง่ายและยืดหยุ่นจริงๆ รูปแบบดังกล่าวช่วยให้สร้างแอปได้เร็วขึ้นและในเวลาเดียวกัน ก็ช่วยให้โค้ดดูเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น
พระเอกของ Flux คือ dispatcher คอยทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมกันสำหรับ event ทั้งหมดของระบบ หน้าที่ของมันคือรอรับการแจ้งเตือนเมื่อเราได้เรียก action และส่งไปยัง store เพื่อทำการตรสจสอบว่าจะต้องทำการเปลี่ยนแปลงของ state หรือไม่ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นก็ทำการ render view (React components) ใหม่ ถ้าเราเปรียบเทียบ Flux กับ MVC อาจจะพูดได้ว่า store เปรียบเสมือนกับ model ที่คอยเก็บข้อมูลและวิธีการในการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
Action ที่มายัง dispatcher นั้นมาจากทั้งส่วนของ view และส่วนอื่น ๆ ของระบบ เปรียบเสมือนกับเป็นบริการ (service) ยกตัวอย่างเช่นโมดูลที่ทำการร้องขอ HTTP เมื่อได้รับการตอบกลับมาจะทำการดำเนินการบางอย่าง เพื่อทำการบอกว่าการร้องขอนั้นได้สำเร็จแล้ว
เช่นเดียวกับแนวคิดยอดนิยมอื่น ๆ Flux ก็มีรูปแบบการนำไปใช้ที่หลากหลาย โดยทั่วไปวิธีที่ดีที่สุดในการทำความเข้าใจกับเทคโนโลยีคือการนำไปปฏิบัติ ในส่วนต่อไปนี้เราจะสร้างไลบรารีที่มีฟังก์ชัน helper เพื่อสร้างรูปแบบ Flux
ในหลายกรณีเราจำเป็นต้องมี dispatcher อันเดียว เพราะมันทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมกันกับตัวอื่น ๆ ที่เหลือให้เหมือนกับว่าเพียงแค่อันเดียว dispatcher จะรู้จักกับสองสิ่งนี้คือ action และ store ตัว actions นั้นถูกส่งแค่ไปหา stores เฉยๆ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเก็บมันไว้ ส่วน store สามารถถูก track ได้ภายใน dispatcher เพื่อสามารถดำเนินการกับข้อมูลได้:
ผมจะเริ่มต้นด้วย:
var Dispatcher = function () {
return {
_stores: [],
register: function (store) {
this._stores.push({ store: store });
},
dispatch: function (action) {
if (this._stores.length > 0) {
this._stores.forEach(function (entry) {
entry.store.update(action);
});
}
}
}
};
สิ่งแรกที่ควรทราบก็คือเราคาดว่า method update จะมีอยู่ใน store ที่ได้รับมา หากไม่มีควรจะทำการส่ง error กลับไป:
register: function (store) {
if (!store || !store.update) {
throw new Error('You should provide a store that has an `update` method.');
} else {
this._stores.push({ store: store });
}
}
ขั้นตอนต่อไปคือการเชื่อมต่อส่วนผู้ใช้กับ store เพื่อให้เราสามารถแสดงผลใหม่เมื่อสถานะของ store มีการเปลี่ยนแปลง
การใช้งาน Flux ในบางรูปแบบจะมีฟังก์ชัน helper ในการทำงาน ตัวอย่างเช่น
Framework.attachToStore(view, store);
อย่างไรก็ตามผมไม่ชอบวิธีนี้มากนัก เพื่อให้ attachToStore
ทำงานได้อย่างถูกต้องเราจำเป็นต้องใช้ API แบบพิเศษใน view และ store ดังนั้นเราจำเป็นต้องกำหนด public method ใหม่อย่างเข้มงวด หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ view และ store ของคุณควรมี API ดังกล่าวเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกันได้
ถ้าเราใช้วิธีนี้เราอาจจะกำหนดคลาสหลักที่เป็นส่วยขยายเพื่อที่จะไม่สร้างความสับสนกับรายละเอียดของ Flux ให้กับผู้พัฒนา กลายเป็นว่าทุกคลาสควรจะ extend มาจากคลาสของเรา
มันไม่ใช่ความคิดที่ดีเพราะผู้พัฒนาอาจตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้ Flux รูปแบบอื่น และต้องการแก้ไขทุกอย่าง
เกิดอะไรขึ้นถ้าเราใช้ mixins
var View = React.createClass({
mixins: [Framework.attachToStore(store)]
...
});
นี่เป็นวิธีที่ดีในการกำหนดลักษณะการทำงานสำหรับ component ดังนั้นในทางทฤษฎีเราอาจสร้าง mixin มาผูกกับ component ของเรา ถ้าพูดตามตรงผมไม่คิดว่านี่เป็นความคิดที่ดี และดูเหมือนว่าไม่ใช่แค่ผมที่คิดแบบนี้ เหตุผลที่ผมไม่ชอบ mixin คือมันปรับเปลี่ยน components โดยวิธีที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ผมไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นเบื้องหลังการทำงานของมัน ดังนั้นผมจึงข้ามวิธีการนี้
อีกเทคนิคหนึ่งที่อาจตอบโจทย์ได้คือ context เป็นวิธีที่จะ pass props ไปยัง component ย่อยโดยไม่จำเป็นต้องส่งลงไปทีละขั้น Facebook แนะนำให้ใช้ context ในกรณีที่เราส่งข้อมูลไปยัง component ย่อยที่ถูกซ้อนกันหลายชั้น
บางครั้ง คุณต้องการส่งข้อมูลไปยัง component โดยไม่ต้อง pass props ในแต่ละระดับด้วยตนเอง context จะช่วยให้คุณทำแบบนั้นได้ง่ายขึ้น
ผมเห็นความคล้ายคลึงกันกับ mixins ตัว context ถูกกำหนดไว้ที่ไหนสักที่ด้านบน component และคอยส่งข้อมูลไปยัง component ย่อยทุกตัวอย่างน่าอัศจรรย์ โดยที่ไม่รู้ว่าข้อมูลมาจากที่ไหน
รูปแบบ Higher-Order components ถูกเสนอโดย Sebastian Markbåge จะจะเกี่ยวกับการสร้าง wrapper component ที่จะรีเทิร์น component ออกมา โดยที่สามารถเพิ่มคุณสมบัติให้มันการเดินการบางอย่างเข้าไปด้วย ตัวอย่างเช่น:
function attachToStore(Component, store, consumer) {
const Wrapper = React.createClass({
getInitialState() {
return consumer(this.props, store);
},
componentDidMount() {
store.onChangeEvent(this._handleStoreChange);
},
componentWillUnmount() {
store.offChangeEvent(this._handleStoreChange);
},
_handleStoreChange() {
if (this.isMounted()) {
this.setState(consumer(this.props, store));
}
},
render() {
return <Component {...this.props} {...this.state} />;
}
});
return Wrapper;
};
Component
คือ view ที่เราต้องการจะแนบกับ store
ฟังก์ชั่น consumer
จะระบุว่าควรเก็บอะไรใน store และส่งไปที่ view การใช้ฟังก์ชันข้างต้นอย่างง่ายเป็นดังนี้:
class MyView extends React.Component {
...
}
ProfilePage = connectToStores(MyView, store, (props, store) => ({
data: store.get('key')
}));
นี่เป็นรูปแบบที่น่าสนใจ view จะดึงข้อมูลจาก store ไม่ใช่ให้ store กำหนดว่าจะส่งอะไรออกไป และแน่นอนว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ ทำให้ง่ายต่อการจัดเก็บ ซึ่ง store จะทำหน้่าที่เพียงแค่เปลี่ยนแปลงข้อมูลและคอยบอกว่าข้อมูลได้ถูกแก้ไขแล้ว มันไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการส่งข้อมูลอีกต่อไป ข้อเสียของวิธีการนี้คือ อาจเป็นไปได้ว่าเราจะมี component (wrapper) หลาย ๆ อันที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้เรายังต้องมีสามสิ่งนี้คือ view, store และ consumer วางไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้เแต่ละส่วนสามารถเชื่อมต่อกันได้
ผมเลือกวิธีสุดท้าย higher-order components มีความใกล้เคียงกับสิ่งที่ผมต้องการแล้ว ให้ view กำหนดสิ่งที่ต้องการ ความเข้าใจที่มีอยู่เกี่ยวกับคอมโพเนนต์นั้นเหมาะสมเก็บไว้ที่นั่น นั่นคือเหตุผลว่าฟังก์ชั่นที่สร้าง higher-order components จะถูกเก็บไว้ในไฟล์เดียวกับ view ถ้าเราใช้วิธีการแบบเดียวกันแต่ไม่ส่ง store ไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งฟังก์ชั่นจะรับเฉพาะ consumer เท่านั้น และฟังก์ชันนี้จะถูกเรียกทุกครั้งเมื่อ store มีการเปลี่ยนแปลง
ถึงตอนนี้การใช้งานของเรามีเพียงการโต้ตอบกับ store เท่านั้นใน method register
register: function (store) {
if (!store || !store.update) {
throw new Error('You should provide a store that has an `update` method.');
} else {
this._stores.push({ store: store });
}
}
โดยใช้ register
เราจะอ้างอิงไปยัง store ภายใน dispatcher อย่างไรก็ตาม register
จะไม่มีการส่งข้อมูลอะไรกลับไป หรือเราอาจจะให้มันส่ง subscriber ที่รับฟังก์ชั่น consumer กลับไป
ผมเลือกส่งทั้ง store ไปยังฟังก์ชัน consumer แทนที่จะส่งแค่ข้อมูลที่เก็บไว้นนั้น เช่นเดียวกันในรูปแบบ higher-order components ส่วน view ควรใช้ getter ของ store เพื่อเรียกสิ่งที่ต้องการ ทำให้ใช้ store ค่อนข้างง่ายและไม่มีร่องรอยของ presentational logic
นี่คือ method register ที่เปลี่ยนแปลง:
register: function (store) {
if (!store || !store.update) {
throw new Error(
'You should provide a store that has an `update` method.'
);
} else {
var consumers = [];
var subscribe = function (consumer) {
consumers.push(consumer);
};
this._stores.push({ store: store });
return subscribe;
}
return false;
}
สิ่งสุดท้ายที่จะทำให้เสร็จสมบูรณ์คือ ทำให้ store แจ้งเมื่อข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง เราได้รวบรวมฟังก์ชัน consumer ไว้แล้ว แต่ตอนนี้ยังไม่มีการใช้งาน
ตามหลักการพื้นฐานของสถาปัตยกรรม Flux นั้น store จะเปลี่ยนสถานะเพื่อตอบสนองต่อ actions ใน method update
เราจะส่ง action
แต่เรายังสามารถส่งฟังก์ชัน change
การเรียกฟังก์ชันนี้เพื่อให้เกิดการทำงานขึ้นที่ consumer:
register: function (store) {
if (!store || !store.update) {
throw new Error(
'You should provide a store that has an `update` method.'
);
} else {
var consumers = [];
var change = function () {
consumers.forEach(function (l) {
l(store);
});
};
var subscribe = function (consumer) {
consumers.push(consumer);
};
this._stores.push({ store: store, change: change });
return subscribe;
}
return false;
},
dispatch: function (action) {
if (this._stores.length > 0) {
this._stores.forEach(function (entry) {
entry.store.update(action, entry.change);
});
}
}
ถ้าหากว่าเรา push change
กับ store
ใน array _stores
หลังจากนั้นให้ dispatch
เรียก method update
และส่ง action
กับ change
ไปในฟังก์ชัน
การใช้งานทั่วไป เพื่อสร้าง view และกำหนดสถานะเริ่มต้นของ store ในบริบทของการใช้งานของเราหมายถึง consumer จะถูกเรียกใช้อย่างน้อยหนึ่งครั้งเมื่อเรียกใช้งาน library ซึ่งสามารถทำได้อย่างง่ายใน method subscribe
:
var subscribe = function (consumer, noInit) {
consumers.push(consumer);
!noInit ? consumer(store) : null;
};
แน่นอนว่าบางครั้งเราไม่จำเป็นที่จะต้องกำหนดตัวแปร flag ขึ้นมาให้เป็นค่า false และนี่ก็เป็นหน้าตา dispatcher ที่เสร็จแล้ว:
var Dispatcher = function () {
return {
_stores: [],
register: function (store) {
if (!store || !store.update) {
throw new Error(
'You should provide a store that has an `update` method'
);
} else {
var consumers = [];
var change = function () {
consumers.forEach(function (l) {
l(store);
});
};
var subscribe = function (consumer, noInit) {
consumers.push(consumer);
!noInit ? consumer(store) : null;
};
this._stores.push({ store: store, change: change });
return subscribe;
}
return false;
},
dispatch: function (action) {
if (this._stores.length > 0) {
this._stores.forEach(function (entry) {
entry.store.update(action, entry.change);
});
}
}
}
};
คุณอาจจะเห็นว่าเรายังไม่ได้พูดถึง action แล้ว actions คืออะไร? โดยทั่วไปมันเป็นแค่ object ที่มีเพียง type
และ payload
:
{
type: 'USER_LOGIN_REQUEST',
payload: {
username: '...',
password: '...'
}
}
type
จะเป็นตัวบอกว่า action นั้นทำอะไร ส่วน payload จะเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับ event บางกรณีไม่จำเป็นต้องมีก็ได้
สิ่งที่น่าสนใจคือ type
ที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้น และที่สำคัญคือเราควรจะรู้ว่าต้องมี action อะไรในแอปพลิเคชันของเราบ้าง และตัวไหนที่คอยทำการ dispatch ไปยัง store ดังนั้นเราจึงสามารถประยุกต์ใช้บางส่วนได้ และหลีกเลี่ยงการส่ง object action ตัวอย่างเช่น
var createAction = function (type) {
if (!type) {
throw new Error('Please, provide action\'s type.');
} else {
return function (payload) {
return dispatcher.dispatch({
type: type,
payload: payload
});
}
}
}
createAction
มีข้อดีดังนี้:
- เราไม่จำเป็นต้องจำ type ของ action อีกต่อไป ตอนนี้เรามีฟังก์ชันที่เราเรียกผ่าน payload เท่านั้น
- เราไม่จำเป็นต้องเข้าถึง dispatcher อีกต่อไปซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก มิเช่นนั้นคุณต้องพิจารณาวิธีส่งข้อมูลทุกครั้งที่ใช้งาน dispatch
- ข้อสุดท้ายเราไม่ต้องจัดการ object อีกต่อไป เราแค่เรียกฟังก์ชันซึ่งดีกว่ามาก ซึ่งเป็น static objects ขณะที่ฟังก์ชันอธิบายถึง process
วิธีการสร้าง actions ด้วยวิธีนี้นี้เป็นที่นิยมมาก ฟังก์ชั่นด้านบนเรียกว่า action creators.
ในส่วนก่อนหน้า dispatcher ถูกซ่อนอยู่ในขณะที่เราดำเนินการ action เราอาจดำเนินการอีกครั้งเพื่อทำการ registry store:
var createSubscriber = function (store) {
return dispatcher.register(store);
}
และแทนที่จะ export dispatcher เราอาจ export เฉพาะสองฟังก์ชันนี้คือ createAction
และ createSubscriber
นี่คือโค้ดที่สมบูรณ์
var Dispatcher = function () {
return {
_stores: [],
register: function (store) {
if (!store || !store.update) {
throw new Error(
'You should provide a store that has an `update` method'
);
} else {
var consumers = [];
var change = function () {
consumers.forEach(function (l) {
l(store);
});
};
var subscribe = function (consumer, noInit) {
consumers.push(consumer);
!noInit ? consumer(store) : null;
};
this._stores.push({ store: store, change: change });
return subscribe;
}
return false;
},
dispatch: function (action) {
if (this._stores.length > 0) {
this._stores.forEach(function (entry) {
entry.store.update(action, entry.change);
});
}
}
}
};
module.exports = {
create: function () {
var dispatcher = Dispatcher();
return {
createAction: function (type) {
if (!type) {
throw new Error('Please, provide action\'s type.');
} else {
return function (payload) {
return dispatcher.dispatch({
type: type,
payload: payload
});
}
}
},
createSubscriber: function (store) {
return dispatcher.register(store);
}
}
}
};
ถ้าเราเพิ่มการสนับสนุน AMD, CommonJS และการใช้งาน global โค้ดที่สมบูรณ์จะมีทั้งหมด 66 บรรทัด ขนาดไฟล์ 1.7KB และถ้าบีบอัดเหลือ 795 bytes โดยการ minifying JavaScript
เรามีโมดูล helper สองอันสำหรับการสร้าง Flux เราจะลองเขียนแอปนับจำนวนแบบง่าย ๆ โดยที่ไม่ใช้ React เพื่อให้เราเห็นรูปแบบการทำงาน
เราจำเป็นต้องมี UI เพื่อโต้ตอบกับข้อมูลดังกล่าว:
<div id="counter">
<span></span>
<button>increase</button>
<button>decrease</button>
</div>
span
ใช้เพื่อแสดงค่าจำนวนปัจจุบัน เมื่อมีการคลิกปุ่มจะเปลี่ยนจำนวนค่า
const View = function (subscribeToStore, increase, decrease) {
var value = null;
var el = document.querySelector('#counter');
var display = el.querySelector('span');
var [ increaseBtn, decreaseBtn ] =
Array.from(el.querySelectorAll('button'));
var render = () => display.innerHTML = value;
var updateState = (store) => value = store.getValue();
subscribeToStore([updateState, render]);
increaseBtn.addEventListener('click', increase);
decreaseBtn.addEventListener('click', decrease);
};
view จะได้รับฟังก์ชั่น store subscriber และ action สำหรับการ เพิ่มค่า / ลดค่า ในบรรทัดแรก ๆ นั้นเป็นเพียงแค่การ fetch DOM elements
หลังจากนั้นเราได้กำหนดฟังก์ชัน render
ซึ่งมีหน้าที่ในการแสดงค่าลงในแท็ก span และฟังก์ชัน updateState
ซึ่งจะถูกเรียกใช้เมื่อ store มีการเปลี่ยนแปลง เราได้ส่งสองฟังก์ชั่นนั้นไปใน subscribeToStore
เนื่องจากเราต้องการให้ view มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล จำไว้ว่าฟังก์ชั่น consumer จะถูกเรียกอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
สิ่งสุดท้ายที่ต้องทำคือผูก action กับ button element
ทุก action จะมี type การประกาศให้เป็นตัวแปรค่าคงที่วิธีที่ดีที่สุด เนื่องจากเราไม่ต้องมีการประมวลผลกับมัน
const INCREASE = 'INCREASE';
const DECREASE = 'DECREASE';
โดยปกติเรามักจะมีเพียงหนึ่ง store เท่านั้น เพื่อความง่ายเรา store ให้มีเพียงอันเดียว
const CounterStore = {
_data: { value: 0 },
getValue: function () {
return this._data.value;
},
update: function (action, change) {
if (action.type === INCREASE) {
this._data.value += 1;
} else if (action.type === DECREASE) {
this._data.value -= 1;
}
change();
}
};
_data
คือ state ที่อยู่ใน store ส่วน update
นั้นอย่างที่เราได้ทราบกันไปแล้วว่าจะถูกเรียกโดย dispatcher และเราจะ process action ภายในนั้น และฟังก์ชัน change()
จะถูกเรียกเมื่อข้อมูลได้มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนgetValue
นั้นเป็น public method จะถูกเรียกโดย view เมื่อต้องการเรียกข้อมูล ในกรณีนี้เป็นเพียงแค่ข้อมูลจำนวนนับ
ตอนนี้เรามี store ที่รอ action จาก the dispatcher และได้สร้าง view ไว้แล้ว เหลือเพียงสร้าง store subscriber มาเริ่มทำให้มันทำงานได้กันเถอะ
const { createAction, createSubscriber } = Fluxiny.create();
const counterStoreSubscriber = createSubscriber(CounterStore);
const actions = {
increase: createAction(INCREASE),
decrease: createAction(DECREASE)
};
View(counterStoreSubscriber, actions.increase, actions.decrease);
และตอนนี้ view ได้ subscribe store เรียบร้อยแล้ว และจะ render โดย default เพราะ method render
เป็นหนึ่งใน consumer
สามารถดูตัวอย่าง live demo ที่เว็บ JSBin http://jsbin.com/koxidu/embed?js,output ถ้าคุณคิดว่าตัวอย่างนี้ยังไม่เพียงพอสามารถไปดูตัวอย่างเพิ่มเติมใน repository Fluxiny https://github.com/krasimir/fluxiny/tree/master/example ซึ่งได้ใช้ React ในการสร้าง view
การใช้ Flux ที่กล่าวถึงในบทนี้จะอยู่ที่นี่ github.com/krasimir/fluxiny สามารถใช้งานได้โดยตรงในเบราว์เซอร์ หรือผ่าน npm dependency